Mari Katayama
b. 1987, Saitama, Japan
Mari Katayama has created numerous self-portrait photographs together with embroidered objects and decorated prostheses, using her own body as a living sculpture. Suffering from congenital tibial hemimelia, Katayama had both her legs amputated at the age of nine. In her work, beauty is the concept that the artist has questioned and sought after since her childhood, and her belief is that tracing her own self connects her with other people, and that just like a patchwork is made by stitching together edges with needle and thread, her everyday life can also be connected with wider society and the world.
shell, 2016, depicts the artist directly gazes into the camera, holding a shutter release in her right hand, taking control of the act of photographing, in which, as she puts it, “when someone else takes your photograph, you become the work of that person.”
bystander, 2016, was made during the artist’s stay at Naoshima Island. The photograph shows the artist clothed with embroidered textile and dolls that feature images of “hands,” which are the hands of the local residents and of onna-bunraku, a team of female puppeteers. This is the first time bodies of other people appear in her work. As Katayama takes the dolls around the island to photograph, she grew more familiar with them. Such experience reminds her of the time when she had to adjust to the prostheses after her amputation when she was nine.
Creating on the way home, 2016, while pregnant with her daughter, the artist was inspired by her realization of lifespan duration and sense of hesitancy, leading her to an introspective path in Watasegawa.
-
Mari Katayama
you're mine #001,
2014C-print, 93 x 150 cm.
Courtesy of the artist and Bangkok Art Biennale
มาริ คาตายามะ
เกิด พ.ศ. 2530 ไซตามะ ประเทศญี่ปุ่น
มาริ คาตายามะอาศัยและทำงานอยู่ที่กุนมะ เธอได้สร้างสรรค์ผลงานภาพถ่ายตัวเองมากมาย รวมทั้งงานปักเย็บวัตถุต่าง ๆ และงานตกแต่งขาเทียมโดยใช้ร่างกายของเธอเองเป็นงานประติมากรรมที่มีชีวิต คาตายามะเป็นโรคกระดูกหน้าแข้งและถูกตัดขาทั้งสองข้างเมื่ออายุเก้าปี ในงานศิลปะของเธอความงามเป็นแนวความคิดที่เธอตั้งคำถามและค้นหามาตั้งแต่วัยเยาว์ เธอเชื่อว่าการย้อนสำรวจชีวิตตัวเองจะช่วยเชื่อมโยงตัวเธอกับคนอื่น ๆ และชีวิตประจำวันของเธอสามารถเชื่อมโยงกับสังคมและโลกได้เช่นเดียวกับการปักเย็บขอบผ้าชิ้นต่าง ๆ ด้วยเข็มและด้าย
งาน shell (พ.ศ. 2559) แสดงภาพศิลปินมองตรงมาที่กล้อง มือขวาถือที่กดชัตเตอร์ควบคุมการถ่ายภาพซึ่งเธออธิบายว่า "ถ้าให้คนอื่นถ่ายภาพคุณ คุณก็จะกลายเป็นผลงานของคนนั้น"
งาน bystander (พ.ศ. 2559) สร้างสรรค์ขึ้นระหว่างที่ศิลปินพำนักอยู่ที่เกาะนาโอชิมะ ภาพถ่ายนี้เป็นภาพศิลปินนุ่งห่มผ้าปักเย็บและตุ๊กตาที่มีภาพ "มือ" ของชาวเกาะนาโอชิมะและออนนะ-บุนระขุหรือคณะนักเชิดหุ่นหญิง นับเป็นครั้งแรกที่ร่างกายของผู้อื่นปรากฏในงานของเธอ ระหว่างที่คาตายามะนำตุ๊กตาไปถ่ายภาพรอบ ๆ เกาะเธอก็คุ้นเคยกับชาวเกาะมากขึ้น ประสบการณ์นี้ทำให้เธอนึกถึงช่วงที่ต้องปรับตัวให้ชินกับขาเทียมหลังจากที่ต้องถูกตัดขาเมื่ออายุเก้าปี
เธอสร้างสรรค์งาน on the way home (พ.ศ. 2559) ระหว่างตั้งครรภ์ลูกสาว โดยได้รับแรงบันดาลใจจากการที่เธอเข้าใจเรื่องระยะเวลาการมีชีวิตและความรู้สึกรีบเร่ง นำไปสู่การเดินทางภายในจิตใจที่วาตาเซกาวะ
-
Mari Katayama
you're mine #001,
2014C-print, 93 x 150 cm.
Courtesy of the artist and Bangkok Art Biennale