The renowned British sculptor Tony Cragg explores the complex relationships between the natural and man-made world to create an innovative, distinctive sculptural language. A self-described 'radical materialist', the artist is 'interested in the internal structures of material that result in their external appearance'. Originally informed by British land art and performance art, his work is inspired by the macro and micro structures found in nature, as well as an engagement with industrial materials and processes. He constantly explores and expands the possibilities of new materials which, in turn, help to determine the form each sculpture takes and the emotional register it occupies.
In his early works, Cragg created accumulations of found objects, later applying the same stacking principles to thin layers of wood to form undulating organic structures. These works recall natural geological forms, such as the sedimentation of mineral particles to create strata or the weathering of rock by the forces of wind and water. Recent works suggest the movement and transience of elements caught in the process of transformation, as in stainless steel forms that convey the fluidity of molten metal.
Cragg's primary concern is an examination of how forms function in and interact with space, whether physical or psychological. The interplay between positive and negative space becomes a key structuring principle in his works, heightening the viewer's awareness of their own relationship to space and the material world.
Since the 1980s, his work has been shown at important international exhibitions, including documenta in Kassel (1982 and 1987), the British pavilion at the Venice Biennale (1988) and the São Paulo Biennial (1983). He was awarded the Turner Prize in 1988, made a Chevalier des Arts et des Lettres by France in 1992, and received Japan's prestigious Praemium Imperiale in 2007.
โทนี แคร็กก์ คือประติมากรชื่อดังชาวอังกฤษผู้สร้างสรรค์ผลงานซึ่งสะท้อนถึงความสัมพันธ์อันซับซ้อนระหว่างธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อสร้างภาษาประติมากรรมที่ทั้งล้ำสมัยและโดดเด่นเฉพาะตัว ศิลปินที่นิยามตนเองว่าเป็น "วัตถุนิยมสุดโต่ง" มี"ความสนใจในโครงสร้างภายในของวัสดุที่ส่งผลต่อรูปลักษณ์ภายนอก" ด้วยอิทธิพลจากภูมิศิลป์และศิลปะการแสดงของอังกฤษ ผลงานของแครกก์ได้รับแรงบันดาลใจจากโครงสร้างมหภาคและจุลภาคที่พบในธรรมชาติ ตลอดจนการนำวัสดุและกระบวนการทางอุตสาหกรรมมาเป็นส่วนหนึ่งของผลงาน แคร็กก์ชอบทดลองใช้และขยายขอบเขตความเป็นไปได้ของวัสดุใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลที่ได้จะช่วยในการกำหนดรูปแบบที่จะใช้ในประติมากรรมแต่ละชิ้นและอารมณ์ความรู้สึกของประติมากรรมนั้นๆ
ในช่วงแรก ๆ แคร็กก์สร้างสรรค์ผลงานจากการนำวัตถุต่าง ๆ มาวางซ้อนทับกัน ต่อมาได้ใช้หลักการเดียวกันนี้ในการวางซ้อนชั้นไม้บางๆ เพื่อสร้างโครงสร้างที่มีลักษณะเป็นลูกคลื่น ผลงานเหล่านี้ชวนให้นึกถึงรูปแบบทางธรณีวิทยาตามธรรมชาติ เช่น การตกตะกอนของอนุภาคแร่เพื่อสร้างชั้นหิน หรือการผุกร่อนของหินโดยแรงลมและน้ำ ผลงานล่าสุดแสดงให้เห็นการเคลื่อนไหวและความคงทนขององค์ประกอบที่ติดอยู่ในกระบวนการเปลี่ยนรูป เช่นเดียวกับในรูปแบบสเตนเลสสตีลที่สื่อถึงความลื่นไหลของโลหะหลอมเหลว
ใจความสำคัญในการทำงานของแคร็กก์คือการตรวจสอบว่ารูปแบบต่าง ๆ ของผลงานจะทำงานและมีปฏิสัมพันธ์กับพื้นที่อย่างไร ไม่ว่าจะเป็นทางกายภาพหรือทางจิตวิทยา การมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างพื้นที่เชิงบวกและเชิงลบจึงเป็นหลักการสำคัญในการวางโครงสร้างผลงานของเขา เพื่อทำให้ผู้ชมตระหนักรู้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับพื้นที่และโลกแห่งวัตถุ
นับตั้งแต่ช่วงปี 2522 เป็นต้นมา ผลงานของเขาได้ถูกจัดแสดงในนิทรรศการนานาชาติที่สำคัญหลายครั้ง รวมถึง documenta in Kassel ( ปี 2525 และปี 2530), the British pavilion ในงานเทศกาลศิลปะนานาชาติ Venice Biennale ( ปี 2531) และ São Paulo Biennial ( ปี 2526). โดยเขาได้รับรางวัล Turner Prize ในปี 2531 และ Chevalier des Arts et des Lettres by France ในปี 2535 นอกจากนี้ยังได้รับรางวัลอันทรงเกียรติจาก Praemium Imperiale ประเทศญี่ปุ่นในปี 2550 อีกด้วย